สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว ที่ผม (ชนินทร์ ปิ่นแก้ว) ได้พูดถึง UX/UI ในเชิงของการออกแบบเกี่ยวกับธรรมชาติของข้อมือ ที่ทำให้เวลาเราตั้งท่าจะหยอดเหรียญ เหรียญจะเอียงเล็กน้อย ถ้าท่านใดยังไม่ได้อ่าน ย้อนกลับไปติดตามได้ที่ ลิงค์นี้นะครับ https://www.duckgroup.co/post/ผู้บริหาร-duck-group-เผย-simple-automate-โลกของการออกแบบ-ในอีกมิติที่หลายคนอาจมองข้าม
งั้นผม เ ห ล า ต่อเลยแล้วกัน..
เรื่องการหยอดเหรียญ คนที่อยู่ในวงการการออกแบบหรือคนที่ช่างสังเกตุ ก็จะพูดได้ว่า.. อ้าวววววววววว !! ทำไมถึงมีตัวรับเหรียญที่หยอดแบบตั้งตรง 90 องศา ละครับบบบบ ??? ?
ใจเย็นๆ ไม่ใช่ว่า การออกแบบไม่ถูกต้องหรอกน้า.. การตีโจทย์ของ UX สามารถตีออกมาได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับมุมมองของความตั้งใจในการที่จะส่งมอบประสบการณ์ และอีกหลายเหตุผล เช่น การที่คนจะหยอดเหรียญในท่า 90 องศา จะต้องมาจากความตั้งใจ ราวกับเป็นการยืนยันอีกครั้งว่าต้องการหยอดจริงๆ คล้ายๆ กับเวลาที่คุณจะโอนเงินในมือถือ แล้วพอกดโอน ก็จะมีการถามอีกครั้งเพื่อต้องการยืนยัน สำหรับการออกแบบเครื่องแลกเหรียญ เลยใช้การบิดข้อมือเพิ่มอีกนิด เพื่อเป็นการยืนยันว่าฉันจะหยอดจริงๆ ไม่ได้เกิดจากความบังเอิญที่เหรียญจะตกเข้าไปได้เฉยๆ นั่นเอง
ความน่าสนใจ คือ แต่ละประเทศก็จะมีความแตกต่างกันไปในการตีโจทย์ ผมก็เริ่มหาข้อมูล ทดสอบ และค้นพบว่า.. ความสูงของการจัดวางช่องหยอดเหรียญก็มีส่วนสำคัญ หากคุณสังเกตตู้จำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ (Vending Machine) โดยเฉพาะของญี่ปุ่น ช่องหยอดเหรียญเข้าจะเป็นแนวนอน
ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับช่องหยอดเหรียญที่มีความสูงต่ำกว่าเอวผู้ใช้นั่นเอง เพื่อให้ง่ายขึ้นในการเข้าใจส่วนนี้ ผมแนะนำให้คุณยืนแล้วหยิบเหรียญมาทำท่าว่าจะหยอดในตำแหน่งที่ต่ำกว่าเอวลงไป แล้วคุณจะเข้าใจ
นี่แหละที่ผมพยายามจะบอกว่า.. การออกแบบเครื่องอะไรก็ตาม ที่ทำขึ้นมาเพื่อให้คนใช้ ฉะนั้นถ้าจะส่งความตั้งใจของความสะดวกในการใช้งาน ก็จะใช้พื้นฐานจากธรรมชาติของร่างการคนนี่แหละ และนี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ที่จริงๆ แล้วมันถูกนำไปใช้ในการออกแบบเก้าอี้ โต๊ะ ที่นอน บ้าน เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน
สำหรับผม การทำงานในส่วนนี้ ใช้ความพยายาม ความทุ่มเทและใช้พลังอย่างมาก ทั้งข้อมูลและเวลา หลายๆ ครั้งที่การออกแบบสินค้าของผม จะติดอยู่กับจุดเล็กๆ เป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง บางครั้งอาจเป็นสัปดาห์เลยทีเดียว ที่จะหาความลงตัว ความใช่ ให้เจอ << อธิบายความรู้สึกเป็นคำพูดไม่ได้ คงคล้ายๆ กับเวลาที่คุณกำลังจะแต่งสวนหลังบ้าน แล้วแต่งเท่าไหร่มันก็ยังไม่ใช่ซักที และก็ตอบไม่ได้ว่าอะไรคือใช่ นั้นแหละคับ อารมณ์เดียวกัน. ประสบการณ์นี้เกิดขึ้นในสินค้าตัวนึงที่ผมออกแบบ และมันติดอยู่เป็นปี คือ เจ้า S-BOX
S-BOX ออกแบบและผลิตรุ่นแรก ในปี 2016 (ไม่ได้ขาย) เป็นรุ่นต้นแบบของความตั้งใจที่จะทำเครื่องจำหน่ายสินค้าขนาดเล็กแบบติดผนั่ง ภายใต้แนวคิด !@#$%^&*() ... .
ผมสัญญาว่าจะมา เ ห ล า ให้ฟังในตอนถัดไป ตอน “ความลับของ S-BOX” >>> โปรดติดตาม ตอนต่อไป
. เครื่องแลกเหรียญ cirbox อันดับหนึ่งของประเทศไทย
การันตีด้วยการออกแบบที่สวยงาม และการดูแลตลอดอายุการใช้งาน
.
สนใจเยี่ยมชมอาณาจักร duck group
Website : https://www.duckgroup.co/home
Facebook duck group : https://www.facebook.com/Duck-group-102080255803833/
Facebook duck vending & duck coin changer : https://www.facebook.com/CIRBOX/
Facebook duck wash : https://www.facebook.com/proudlaundrysolution
Facebook duck pay : https://www.facebook.com/2EnhanceCorporation/
Facebook duck store : https://www.facebook.com/DevourThailand/
LINE Official : @duckgroup หรือ https://lin.ee/JqHLLZD
ติดต่อการตลาด : คุณศิริดาวัลย์ วงศ์ธาดาชัย [email protected]
ติดต่อฝ่ายขาย : คุณกานติศา เสถียร [email protected]
ติดต่อฝ่ายพัฒนาธุรกิจ,นักลงทุนสัมพันธ์ : คุณณรงค์ฤทธิ์ จารุเกษม [email protected]
Comentários